จิตรลัดดา พันธ์เครือ จิตรลัดดา  พันธ์เครือ Author
Title: การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบพอเพียงของเด็กปฐมวัย
Author: จิตรลัดดา พันธ์เครือ
Rating 5 of 5 Des:
      รูปแบบการเรียนการสอนแบบเศรษฐกิจพอเพียงของเด็กปฐมวัย รูปแบบการเรียนการสอนแบบเศรษฐกิจพอเพียง หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง     ...
     

รูปแบบการเรียนการสอนแบบเศรษฐกิจพอเพียงของเด็กปฐมวัย


รูปแบบการเรียนการสอนแบบเศรษฐกิจพอเพียง
หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

     การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้
1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา
2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กันดังนี้
– ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
– ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
– การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล
เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี
ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป
2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด
“การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”
เศรษฐกิจพอเพียง จะสำเร็จได้ด้วย ความพอดีของตน

รูปแบบการเรียนการสอนเศรษฐกิจพอเพียงของเด็กปฐมวัย
การจัดกิกรรมการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็น การจัดกิจกรรมที่ผสมผสานหรือบูรณาการในทุกกิจกรรมเป็นการจัดกระบวนการเรียน รู้ที่เด็กได้รับประสบการณ์ตรง คุณครูมีการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกันทำให้เด็กเด็กได้รับความรู้ ได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน ได้รับรู้และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น มีความสุขสนุกสนาน ทำให้เด็กค่อยๆซึมซับความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และกล้าแสดงออกในด้านการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทำให้เกิดคามรู้สึกรักและมีความอนุรักษ์ในการรักษาธรรมชาติ มีความภาคภูมิใจ รักในบ้านเกิดของตน
กิจกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกิจกรรมที่เด็กปฐมวัยสามารถพบได้ในชีวิตประจำวันและคุ้นเคยเป็นอย่างดี ประกอบกับการที่ครูได้จัดสภาพแวดล้อม กระตุ้นและชี้แนะเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง เมื่อเด็กปฐมวัยทำกิจกรรมทุกครั้งจึงส่งผลให้เด็กปฐมวัยได้เผชิญกับปัญหาและได้ฝึกประสบการณ์การแก้ปัญหาโดยเด็กมีปฏิสัมพันธ์และการทำงานร่วมกับผู้อื่นผ่านกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การเปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้ลงมือกระทำและคิดด้วยตัวเด็กเอง ครูสนับสนุนให้เด็กควบคุมตนเองในการแก้ปัญหาในแต่ละกิจกรรมโดยการทำซ้ำๆ ตามความพอใจจะช่วยให้เด็กปฐมวัยพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ในเรื่องของกฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) ว่า การที่ผู้เรียนได้ฝึกหัดหรือกระทำซ้ำบ่อยๆ ก็ย่อมจะทำให้เกิดความสมบูรณ์ถูกต้อง ให้เด็กได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติหรือทำแบบฝึกหัดบ่อยๆ จนทำได้อย่างคล่องแคล่วและมีแรงจูงใจ มีความสนใจเข้าถึงเป้าหมายและคุณค่าของสิ่งที่ทำทั้งนี้เพราะเด็กปฐมวัยต้องการได้รับการฝึกฝนให้เกิดทักษะซึ่งกฎนี้เป็นการเน้นความมั่นคงระหว่างการเชื่อมโยงและการตอบสนองที่ถูกต้องย่อมนำมาซึ่งความสมบูรณ์แห่งการเรียนรู้เพราะการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือการให้เด็กได้ลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง
รูปแบบการเรียนการสอนแบบเศรษฐกิจพอเพียง

“ เศรษฐกิจพอเพียง ” เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิต ด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
การจัดการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
การจัดการศึกษามี ๒ ส่วน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา และส่วนที่เป็นการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งประกอบด้วย หลักสูตรและสาระเรียนรู้ในห้องเรียนและส่วนที่เรียนนอกห้องเรียนหรือที่เรียกกันว่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
หลักเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนหลังจากนั้น ก็ส่งเสริมให้บูรณาการการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเหล่านี้ เข้าไปในการเรียนรู้สาระต่างๆ บูรณาการเข้ากับทุกวิชา เช่น ชีววิทยา ทำให้เกิดสมดุลทางสิ่งแวดล้อม บูรณาการเข้ากับวิชาคณิตศาสตร์ก็ได้ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สุขศึกษา การงานอาชีพต่างๆ ได้หมด ไม่ใช่เฉพาะวิชาสังคมศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม เท่านั้น สำหรับมาตรฐานการเรียนรู้ ก็มีวัตถุประสงค์ให้ ทุกช่วงชั้นเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถประยุกต์ใช้ได้ แต่ถ้าทุกช่วงชั้นเขียนเหมือนกันหมดก็จะมีปัญหาทางปฏิบัติ จึงต้องกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนในการเรียนการสอนของแต่ละช่วงชั้น ดังนี้
ช่วงชั้นที่ ๑ เน้นให้เด็กพึ่งตนเองได้ หรือใช้ชีวิตพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว เช่น ประถม ๑ ช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ล้างจานชาม เก็บขยะไปทิ้ง กวาดบ้าน จัดหนังสือไปเรียนเอง แบ่งปันสิ่งของให้เพื่อน เป็นต้น
ช่วงชั้นที่ ๒ สอนให้เด็กพอเพียงระดับโรงเรียน หรืออาจจะให้เด็กทำโครงงานก็ได้ เริ่มวิเคราะห์รายจ่ายของครอบครัว น าแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้กับโรงเรียน เด็กในช่วงชั้นนี้ ก็จะต้องรู้จักโรงเรียน เช่น โรงเรียนมีต้นไม้กี่ต้น โรงเรียนจะต้องจัดการขยะอย่างไร
ช่วงชั้นที่ ๓ เด็กสามารถประยุกต์ใช้กับชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน
ช่วงชั้นที่๔ เตรียมคนให้เป็นคนที่ดีต่อประเทศชาติสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมได้ ต้องเริ่มเข้าใจความพอเพียงระดับประเทศ เช่นว่าเราเสียดุลการค้าระหว่างประเทศหรือว่า ทางสิ่งแวดล้อมสถานการณ์เป็นอย่างไร
การนำหลักความพอเพียงปรับประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัย
1.ใช้เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการจัดกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมหลัก
2. สอดแทรกเชื่อมโยงจากประสบการณ์ตรงทั้งในและนอกห้องเรียน
แนวคิดและการทำความเข้าใจ
1.ศึกษาทำความเข้าใจหลักความพอเพียงที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน ในเงื่อนไข ความรู้คู่คุณธรรม
2. นำหลัก ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกัน มาใช้เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติจริงในการจัดกิจกรรมและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย
3. ไม่นำคุณลักษณะที่พึงประสงค์หรือคุณธรรมที่ต้องการปลูกฝังให้กับเด็กปฐมวัยมาเป็นตัวแปรตามหรือเป็นจุดหมายของการจัดกิจกรรม
เทคนิคการนำไปประยุกต์ใช้
เมื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับการทำงานของระบบที่ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตสามารถนำมาใช้เป็นหลักคิดได้ดังนี้
วัตถุประสงค์และปัจจัยนำเข้าคือ กิจกรรม แผนประสบการณ์ จุดประสงค์ทั้งด้านพุทธพิสัย จิตพิสัยและทักษะพิสัย
    กระบวนการ คือ การนำหลักความพอประมาณ มีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันมาขับเคลื่อนเป็นกลไกของระบบ
    ผลผลิต คือ กิจกรรมที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ ประสบการณ์ของเด็กปฐมวัยที่เกิดจากการประยุกต์ใช้หลักความพอประมาณ ความมีเหตุผลและการสร้างภูมิคุ้มกันซึ่งมีกรอบความรู้และคุณธรรมสอดแทรกเชื่อมโยงทุกกิจกรรม
ข้อสังเกตการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับการเรียนรู้
• การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกิดได้หลายด้าน และ หลายรูปแบบ ไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ละคนจะต้องพิจารณา ปรับใช้ตาม ความเหมาะสม ให้สอดคล้องกับเงื่อนไข และสภาวะที่ตนเผชิญอยู่
• ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยให้เรา “ฉุกคิด” ว่ามีทางเลือกอกทางหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดความยั่งยืน มั่นคง และสมดุลในระยะยาว
การปลูกฝังปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เด็กและเยาวชนไทยผ่านระบบการศึกษา เป็นมิติใหม่ ที่ทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรปล่อยให้เป็นเพียงกระแสแค่ชั่วระยะหนึ่งแล้วเลือนหายไป สิ่งที่ควรทำควบคู่กันไป คือ การสร้างจิตสำนึกร่วมในการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา อันจะทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

ผู้บันทึก

Advertisement

แสดงความคิดเห็น

 
Top